Archive

Archive for the ‘Vocation’ Category

ไปประชุมเสนองานวิชาการ(วิทยาศาสตร์) แล้วได้อะไรบ้าง?

เมษายน 6, 2009 1 ความเห็น

ในทีุ่สุดก็ได้วิธีเขียน blog ใหม่แล้ว ได้ทั้งของสำรอง(https://watcharawuth.wordpress.com) และของจริง(http://stardustblog.exteen.com)   เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลาคิดอะไรออกก็เขียนเลย พอเขียนไปสักพักก็ตัน ไปทำอย่างอื่นแล้วมาเขียนใหม่

ดังนั้นการจะ loginเข้า exteen บ่อยๆ ก็ไม่ค่อยสะดวก มีแต่ต้องเขียนในคอมพิวเตอร์ก่อนแล้วค่อยลอกเนื้อหามาวาง ทีนี้ก็จะเป็นปัญหาในการใส่รูปประกอบอีก  เมื่อลองใช้ windows live writer ก็ประสบปัญหาว่าทำให้ live writer  เชื่อมกับ exteen ไม่ได้     อย่ากระนั้นเลยก็เลยต้องทำการเชื่อมต่อกับ wordpress.com  แทน โดยการเขียนบลอกลงใน live writer แล้ว publish ขึ้น wordpress เพื่อ preview และแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนที่จะคัดลอก html code ในบลอกที่เราต้องการมาใส่ใน exteen ทีนีรูปภาพประกอบที่ Upload ขึ้นมาจากเครื่องก็จะไปอยู่ที่  wordpress แทนด้วยล่ะ แท่นแท้น

ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมได้ไปเสนอผลงานวิจัยทั้งในต่างจังหวัดอย่างการประชุม Siam Physics Congress 2009(SPC2009)  ที่ชะอำ เพชรบุรี   และการประชุม  13th ANnual Symposion on Computaional Science and Engineering (ANSCSE13th) ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  จริงๆ ก่อนหน้านี้ก็เคยเล่าไปแล้วตอนประชุมที่ วทท34 ที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ เมื่อราวปลายเดือนตุลาคมปีที่แล้วด้วย

หลายๆ คนคงอาจจะเคยได้ยินว่า ในแวดวงนักวิชาการนอกจากการทำวิจัย เขียนรายงาน ตีพิมพ์ผลงานการวิจัยแล้ว ยังมีอีกงานหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “การไปเสนอผลงานวิจัย” ในการประชุมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ  แล้วสงสัยกันไหมว่า เขาไปทำอะไรกันบ้าง? และเกิดผลประโยชน์อันใดงอกงามขึ้นมา?

  1. เป็นหมุดหมายกำหนดเร่งงาน อันนี้เป็นความคิดของรุ่นน้องในแลบนะครับ  เพราะเขาบอกว่าช่วงเวลาใกล้ๆ งานประชุมเสนองานเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องเร่งทำงานที่คาดว่าจะนำไปเสนอให้เสร็จ หรือตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อย  พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าไม่มีเส้นตายก็จะทำงานเฉื่อยๆ กัน ถ้ามีงานพวกนี้มาเร่งรัดมากระตุ้น งานก็จะก้าวหน้า   DEADLINE!!!!!
  2. เมื่อลงทะเบียนเสร็จส่วนใหญ่ได้หนังสือบทคัดย่อของงานวิจัยที่ได้รับการนำเสนอในการประชุมแต่ละครั้ง ทั้งแบบเสนอแบบโปสเตอร์และแบบนำเสนอในที่ประชุมย่อย เอกสารกำหนดการ โบรชัวร์ข่าวสารการประชุมอื่นๆ  หนังสือเชิญเข้าร่วมสัมมนาพิเศษ   Workshop บัตรประจำตัว ฯลฯ และที่ขาดไม่ได้คือ กระเป๋าเก็บเอกสารซึ่งสมัยนี้เป็นถุงผ้าลดโลกร้อน (ตามสมัยนิยม)

    P3180030P3260025PA310004PA310001PA310002

    ทางซ้ายคือเอกสารและของที่ได้จากงาน SPC2009, ANSCSE13th  และสามภาพล่างคือของของแถมจากงาน STT34 เมื่อตุลาคมปีที่แล้ว

  3. ฟังบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือแขกรับเชิญในการบรรยายพิเศษในพิธีเปิด โดยทั่วไปหัวข้อที่พูดจะเป็นหัวข้อที่เป็นปัจจุบัน ทันสมัย และเป็นเนื้อหาแบบทั่วๆ ไป ไม่ลงลึกในระดับวิชาที่ศึกษาลงลึกมาก   หรือเป็นความรู้ใหม่ๆ เช่นในงาน SPC2009 แขกรับเชิญพูดถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโรคร้อน  ส่วนในงาน ANSCE13 ที่ ม.เกษตร แขกรับเชิญจากญี่ปุ่นท่านหนึ่งพูดถึงการเขียนโปรแกรมควบคุมให้ Graphic Processor Unit หรือหน่วยประมวลผลภาพของคอมพิวเตอร์ มาคำนวณผลแทน  ซึ่งแต่ก่อนเราใช้เฉพาะ CPU ในการคำนวณเชิงตัวเลขหรือการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์  แต่คราวนี้หากใช้ GPU จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า CPU เป็นอย่างมาก ก็นับว่าเป็นที่สิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากครับ
    P3250009
    บรรยากาศพิธีเปิด ANSCSE13th และการบรรยายพิเศษ
  4. ฟังการเสนอผลงานจากนักวิจัยคนอื่นๆ และที่ขาดไม่ได้คือการเสนอผลงานแต่ละหมวดความรู้ย่อยครับ เรียกว่า Session ถ้าเป็นประชุมของฟิสิกส์จะมีแยกเป็น Material Physics, Computational Physics, Astrophysics,  Electronics,  ฯลฯ   หรือถ้าเป็นงานประชุมเชิงวิทย์คำนวณด้วยคอมพิวเตอร์อย่าง ANSCSE ก็จะเป็น  Computational Chemistry,  Computational Physics,  Engineering, Computing Network  เป็นต้น   การฟังการนำเสนองานของคนอื่นๆ มีข้อดีที่เป็นการ “ปรับปรุงความรู้ของเราให้ทันสมัยยิ่งขึ้น” ดีกว่าการฟังเฉพาะคนในกลุ่มตัวเอง ฟังเสร็จก็หาเรื่องกลับ ไม่อยู่ฟังคนอื่นต่อจนจบ Session (แบบนี้ไม่ดีนะ)
  5. เกิดแนวคิดใหม่และสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัย จากข้อ 3 และ  4 จะเห็นว่าสิ่งที่เราฟังมา หากเป็นแนวคิดใหม่ๆ จะเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยของเราทั้งในแง่
    • เครื่องมือ เช่น บางสัมมนาเป็นการนำเสนอผลการสร้างเครื่องมือใหม่ราคาประหยัดและให้ผลดีเทียบได้กับของที่ต้องสั่งซื้อจากเมืองนอกที่มีราคาสูง   ซึ่งเราสามารถไปขอใช้เครื่องมือไทยทำคุณภาพดีนั้นได้ เป็นการส่งเสริมงานระหว่างกัน เราปก็ประหยัดเงิน  ทางนู้นก็สามารถใช้เราช่วยพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลงานได้
    • บางงานเป็นการเสนอเทคนิคใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพกว่าเดิม เช่นการใช้  GPU มาคำนวณในงานวิทยาศาสตร์แทนที่จะปล่อยให้ GPU ทำงานบันเทิงอย่างเดียว(เล่นเกม ดูหนัง)  ที่สำคัญทรงประสิทธิภาพยิ่งกว่า(ปล. เกี่ยวกับประเด็น GPU นี้ผมคงไม่กล้าใช้กับ notebook ตัวเองแน่ๆ เป็นอะไรขึ้นมาแล้วแก้ไขยาก ไปลองใช้กับ Desktop ดีกว่า)
    • ส่งเสริมความร่วมมือ นอกจากนี้หากพบกับนักวิจัยที่มีแนวคิดคล้ายๆ กับงานของเรา หรือสามารถเสริมส่งกันและกันได้ หลังจากการประชุมเราสามารถติดต่อประสาน คุยกันเพื่อร่วมมือกันทำงานครับ  จงลืมภาพนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานอยู่คนเดียวไม่สุงสิงเสวนากับสังคม หรือมีนิสัยสุดโต่ง แบบในหนังโบราณหรือละครที่ไม่สมจริงไปเสีย นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องมีสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ ต้องอธิบายเหตุและผลของตนเองได้อย่างชัดเจน
      image
      จริงๆ นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้หลุดโลกขนาดนี้นะครับsource:http://commons.wikimedia.org/wiki/
      File:Mad_scientist_transparent_background.svg
    • P3260037
      เพราะนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่คัดหน้าตาดีๆ มาเรียนครับ โดยเฉพาะฟิสิกส์หน้าตาดีทุกคน (ใครรู้ตัวว่าเรียนฟิสิกส์มาช่วยยืนยันหน่อย)  รูปหมู่ชาวแลบเราที่งาน ANSCSE13th
  6. เป็นเวทีฝึกนำเสนอ สำหรับนักศึกษาไม่ว่า ป.ตรี โท เอก  ไม่ว่าคุณจะมุ่งหวังทำงานด้านวิชาการอุตสาหกรรม หรือแวดวงธุรกิจ ก็ตาม การนำเสนอผลงานถือเป็นการฝึกความมั่นใจ ฝึกถ่ายทอดความรู้ อย่างมีหลักการและเหตุผล  มีประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคนแน่นอน

    P3250046P3200035

    สไลด์ ANSCSE13 และ SPC2009 ตามลำดับ

  7. เข้าร่วม Workshop หรือการประชุมกลุ่มย่อย บางครั้งนอกจากการเสนอผลงานแล้ว ยังมีการอบรมพิเศษในความรู้ใหม่ๆ   และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อแสวงหาความร่วมมือในด้านวิชาการหรือจัดประชุมวิชาการในระดับสาขาเฉพาะในโอกาสต่อไป
  8. พบปะกับอาจารย์ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ไม่ได้เจอกันเสียนาน ทั้งจาก ม.เชียงใหม่, ม.นเรศวร, ม.อุบลฯ   จุฬาฯ และ ม.ขอนแก่น ดีใจมากๆ
  9. และท้ายที่สุดคือ หาเรื่องพักผ่อนหาเรื่องเที่ยว เว้นจากเรื่องวิชาการและงานหนักหัว มาทั้งปีแล้ว ถ้าไปประชุมต่างจังหวัดหรือใกล้ๆแหล่งท่องเที่ยวละก็นะ  พอหมดประชุมก็หาเรื่องอยู่ต่อ หาที่เที่ยว ชาร์จแบตให้ตัวเองได้เลย    (เน้นนะครับว่า หมดงานหมดการก่อนแล้วคอยเที่ยว ไม่ใช่ว่าตั้งงบมาโครงการไปดูงานอย่างโน้นอย่างนี้ แต่เอาเข้าจริงก็เที่ยวกันมากกว่าดูงานเสียอีก

จบงานละ ไปเที่ยวเล่นกัน…  เอารูปมาฝากนิดหน่อย

P3190080เรือกล้วย

P3180025อาหารทะเล

P3190077เก็บหอยเก็บปูมาเล่น(มือเพื่อนโจ้ จาก FNRF มช)

P3190075บ้างก็นอนกินลมชมทะเล(แลบเดียวกันก็เผากันเองนี่แหละ)

P3190088 ฟุตบอลชายหาด

อู้มาเขียนบลอก ขออนุญาตไปเตรียมงานสำหรับเขียน Paper ต่อ

วันนี้ก็จบเท่านี้ สัปดาห์หน้าก็หยุดยาวอีกแล้ว

กลับบ้านๆๆๆๆๆๆ

ปล.รูปส่วนใหญ่อยู่ใน multiply นู่น คัดมาหมดก็ไม่ไหวเยอะเกิน

ปล.สำหรับคนที่สนใจ การคำนวณด้วย GPU มาเริ่มต้นที่นี่เลย ก็ได้ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/GPGPU

หมวดหมู่:Academic, Vocation

พาเที่ยว Capitol Hill ;Washington DC ตอนที่ 2 (Series ทำวิจัยในต่างประเทศ #13)

มีนาคม 29, 2009 ใส่ความเห็น

ขุดมาจาก livespace ครับ เวลาย้ายบลอกทีนี่เหนื่อยนะเนี่ย
ความเดิมดูได้ที่ลิงค์นี้ครับ

โปรดระวัง Entry นี้รูปเยอะมาก โหลดโหด

โปรแกรมท่องเที่ยววอชิงตัน วันที่ 26 และ 27 ธันวาคม  2550 ถูกวางแผนขึ้นในคืนวันที่ 25 ตามกำหนดการเดิม เช้า 26 จะเดินไปที่ Washington Monument เพื่อขึ้นไปยังยอดบนสุด รวมทั้งเที่ยวบริเวณนั้น ไปจนถึง Lincoln memorial แล้วตอนบ่ายค่อยเข้าไปเที่ยวในพิพิธภัณฑ์ตามความสนใจของแต่ละคน ทว่าหลังจากออกเดินทางแต่เช้า แวะกินแซนด์วิชและน้ำดื่มกันพออิ่ม แล้วเดินไปถ่ายรูปหน้า capitol ท่ามกลางอากาศขมุกขมัว ท่าทางพยากรณ์อากาศจะแม่นจริงว่าฝนจะตก แต่ก็ไม่มีใครคิดว่าจะตกเร็วขนาดนี้ (คิดว่าจะตกตอนบ่าย แถมมีโอกาสตกแค่ 30%)

IMG_0305 PC260033 PC260011 PC260014

รูปหมู่ ณ หน้ารัฐสภาสหรัฐอมริกา สถานที่สาบานตนเป็นประธานธิบดีของ บารัค โอบามา

IMG_0362

Smithsonian Information Center

หลังจากแวะชม  Smithsonian Information Center ได้สักพัก ปรากฎว่าฝนก็ปรอยๆ ลงมา จึงต้องเปลี่ยนแผน ด้วยการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามแทน โดยแยกย้ายกันไปแล้วแต่ความสนใจจากนั้น

SANY0070 SANY0056 SANY0058 SANY0060 SANY0061 SANY0062 SANY0065 SANY0047

เนื้อหาภายในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติวิทยา ชั้นแรกจัดนิทรรศการแสดงไปตามลำดับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ทั้งอาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ แต่ดูเหมือนจะเน้นอาณาจักรสัตว์เป็นพิเศษ เพราะมีหลายห้องเหลือเกิน ใครที่เคยปวดหัวกับวิชาอนุกรมวิธาน ในระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัย ถ้ามาชมพิพิธภัณฑ์นี้จะเห็นภาพได้ชัดเจนมากครับ เค้าไล่มาตั้งแต่สิ่งมีชีวิตอย่างง่ายตั้งแต่เซลล์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนแล้วมาจบที่ “มนุษย์”  ส่วนชั้นสองเป็นห้องแสดงแมลง อัญมณี อารยธรรมมนุษย์ ด้วย ข้ามฝั่งมาทางด้าน

ตอนเที่ยงเหล่ารหัส 42 ผู้เฒ่าฟิสิกส์ ทั้งหลายก็แยกตัวไป Air and Space Museum กันก่อน  ปล่อยให้พวกเด็กๆ ซึ่งเค้าชอบชีวฯ ดูต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าการฝ่าฝนออกมาคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่เราก็ไปยังฝ่าไป Air and Space Museum จนได้ แล้วก็ประทังหิวด้วยที่ร้านแมคโดนัลด์ รอ

IMG_0769 IMG_0701 IMG_0733 IMG_0735 IMG_0741 IMG_0745 IMG_0752 IMG_0759

Air and Space Museum เริ่มตั้งแต่ความฝันของมนุษย์ที่จะบิน ตั้งแต่ยุคโบราณ จักรกลช่วยบิน การพยายามเลียนแบบนก บอลลูน ไปจนถึงการประดิษฐ์เครื่องร่อน เครื่องบิน การพัฒนาปีกแบบต่างๆ การพัฒนาเครื่องยนต์ ตั้งแต่แบบลูกสูบ มาจนถึงเครื่องยนต์ไอพ่น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยการถ่ายทอดความรู้กันมา เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องจักรที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ (ซึ่งต้องอาศัยกำลังสมองอย่างสูง แน่นอนว่าทำไม ทรัพย์สินทางปัญญา ถึงเป็นสิ่งที่น่าหวงแหนยิ่ง)  จากนั้นก็แยกเป็นการบินพลเรือน กับการบินเพื่อความมั่นคง  มีโชว์เครื่องบินรบรุ่นต่างๆ แต่ไม่มีให้เด็กขึ้นไปนั่งดูคอกพิทของ “เครื่องบินรบ” หรอกครับ เค้าให้เด็กดูแต่ห้องควบคุมของ “เครื่องบินพาณิชย์” เท่านั้น  (มีนัยสำคัญที่ไม่ต้องการปลูกฝังความรุนแรง และไม่อยากให้เด็กได้ใกล้ชิดอาวุธมาก)  แต่ก็ยังไม่วายมีห้องที่จำลองห้องบนเรือบรรทุกเครื่องบิน ทั้งหน้าและท้ายเรือ ให้ได้เห็นการทำงานของทหารที่ปฏิบัติงานอยู่ด้วย  พร้อมทั้งวีดีโอบรรยายสรรพคุณของหน่วยปฏิบัติการดังกล่าว ทั้งเทคโนโลยี ทีมงาน และการซ้อมรบ ดูแล้วรู้สึกว่าใครจะสู้ประเทศพี่ท่านได้เนี่ย(-_-)  จากนั้นก็เป็นการบินอวกาศ  โชว์คอมพิวเตอร์ที่ควบคุมยานบิน กระสวยอวกาศ จรวด ข้าวของเครื่องใช้ในยานอวกาศ เซลล์เชื้อเพลิง(รุ่นแรกที่ใหญ่มากๆ) ชุดอวกาศ และประวัติศาสตร์ด้านการบินอวกาศของสหรัฐฯ

PC260049

งานศิลปะ หน้า Air and Space Museum หลายคนบอกว่าไม่เข้าใจว่าเสานี้หมายถึงอะไร บ้างก็เดาว่าเจ้าลูกกลมที่มีเข็มชี้ออกมาเหมือนดาวฤกษ์มั่ง แต่สำหรับคนเรียนดาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์มาอย่างข้าพเจ้า  มองว่ามันอาจจะใช้แทนหลุมดำ(black hole) หรือ protostar ที่มี จานสะสมมวล accretion disk (ดาวแฉก หกอันนั้นรวมกันแล้วเหมือนมาก) ส่วนเสาสีเงินก็คือ ลำอนุภาคหรือรังสีที่ถูกยิงออกมาจากขั้วแม่เหล็กที่เส้นสนามถูกบิดอันเนื่องมาจากการหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงของหลุมดำหรือ protostar  จนเส้นสนามแม่เหล็กบิดพันกันดูเหมือนเส้นเชืกเส้นเล็กๆที่พันรวมกันเป็นเส้นเชือกที่ใหญ่ แล้วกักอนุภาคพลังงานสูงที่ถูกยิงออกมาไว้ภายใน จนเห็นเป็นลำแสงออกมาจากขั้วทั้งสองเรียกว่า Bipolar Jet (-_-!) จินตนาการบรรเจิดมาก  แถมรูปเปรียบเทียบด้วย

PC260143 PC260125 PC260128 PC260129

IMG_0662 IMG_0635 IMG_0637 IMG_0660

ด้านพิพิธภัณฑ์ศิลปะก็ไม่ต่างกัน เค้าเริ่มจัดแสดงตั้งแต่งานศิลปะตะวันตกในยุคแรกๆ ไล่ไปยังอนาคตเรื่อยๆ ให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงงานศิปละร่วมสมัย ซึ่งอยู่อีกฝากของถนน

น่าทึ่งกับพิพิธภัณธ์ดีๆ แบบนี้เหลือเกิน ข้อสังเกตคือ พิพิธภัณฑ์ที่นี่เข้าฟรีครับ ไม่ต้องเสียค่าบำรุงอะไรเลย คาดว่ารายได้ที่นำมาบำรุงพิพิธภัณฑ์ก็คงมาจาก พวกของที่ระลึก อาหาร รวมทั้งภาษีที่เราจ่ายไปตลอดเวลาที่เราอยู่ในเมือง ทั้งค่าโรงแรม ค่าอาหาร สินค้าต่างๆ  ที่น่าประทับใจมากคือการรวมเอาพิพิธภัณฑที่หลากหลายไว้ในบริเวณใกล้เคียงกัน ทั้งด้านธรรมชาติวิทยา ด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์  (มีอเมริกันอินเดียน, อเมริกันแอฟริกัน แยกให้ดู)  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น อีกทั้งยังเอาไว้ใกล้กับศูนย์กลางการปกครอง อนุสรณ์สถานสำคัญตามประวัติศาสตร์ชาติ รวมทั้งบุคคลสำคัญด้วยทำให้บริเวณ Capitol Hill เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เรียกได้ว่าสำคัญ นอกจากจะรับรู้สิ่งสำคัญของประเทศนี้แล้ว ยังใกล้แหล่งความรู้อีกต่างหาก

หลังจากได้ความรู้ อึ้ง ทึ่ง กับความรู้และซื้อของที่ระลึกกันแล้ว ก็ฝ่าฝน(พยากรณ์อากาศแม่นจริงๆ)  หลังจากนั้นก็ไปหาอาหารไทยกินกันที่ร้าน Thai Tanic ซึ่งก็พาหลงทางกับวนหาที่จอดกันนานพอควร แต่ก็คุ้มค่า ได้ลิ้มรสอาหารไทยที่ไม่ได้กินมานานเกือบเดือน  และต้องขอบคุณเจ้าของร้าน Thai Tanic, Washington DC  USA ที่แถมกล้วยทอดราดน้ำผึ้งมาเป็นของหวานปิดท้ายให้ เด็กน้อยผู้หิวโซทั้ง 7 ได้ลิ้มลอง  ขอบคุณครับไว้มีโอกาสจะกลับไปเยี่ยมเยือนใหม่

IMG_0815 IMG_0798 IMG_0813IMG_0800 IMG_0806

ปล.   ยังๆ ยังไม่จบ อิ่มแล้วจะกลับไปนอนอืดที่พักก็ใช่ที่ โอกาสแบบนี้หาไม่ได้ง่ายๆในชีวิต พวกเรายังพยายามไปต่อครับ  ต้นคริสต์มาสหน้า ทำเนียบขาวไง ฝนตกกลางฤดูหนาวแบบนี้ก็ยังสู้ครับ  แถมบังเอิญได้เจอกับคู่สามีภรรยาชาวไทย ที่มาอยู่ที่นี่นานแล้ว

IMG_0841 IMG_0844 IMG_0819IMG_0823

หมวดหมู่:Academic, Vocation

พาเที่ยว Capitol Mall,Washington DC ตอนที่ 1(Series ทำวิจัยในต่างประเทศ #12)

มีนาคม 29, 2009 ใส่ความเห็น

Series ตอนนี้เคยเขียนไว้ใน live space เมื่อประมาณธันวาคม 2550 ขุดมาใส่ใน exteen กับ wordpress กีสักที ความเติมตอนที่แล้วติดตามได้ที่นี่

โปรดระวัง Entry นี้โหลดโหด (รูปเยอะมากๆ)

วันที่ 25 ธันวาคม 2550 ก็ได้ฤกษ์เดินทางไป Washington DC เสียที  เวลาประมาณ 8.00 น. ด้วยความกรุณาจากพี่แป้งกับพี่พัฒน์ก็ขับรถมารับพาไปส่งที่สถานีรถไฟ Amtrak-Wilmington ของบริษัท Amtrak เมือง Wilmington อันเป็นเมืองธุรกิจและเมืองหลวงของรัฐ Delaware

ใช้เวลา 15 นาที กับเครื่อง GPS พูดได้ แต่ก็ยังเลี้ยวผิดทาง ก่อนถึงสถานีนิดเดียวเอง  ที่ตลกคือเจ้าเครื่อง GPS จากที่เคยพูดได้พูดดีกลับเงียบสนิทพร้อมทั้งปรากฎเครื่องหมาย [?] บนหน้าจอสีฟ้า  แสดงว่า GPS ก็งงเป็น

ก็ไม่ยากสำหรับการกลับเข้าเส้นทางเดิม ลงรถลาท่านพี่ทั้งสองเข้าไปในสถานี ก็ต้องไปเอาตั๋วออกมาก่อน โดยมีสองวิธีคือ เอาเลขลำดับการจองที่พิมพ์ออกมาทางอินเตอร์เนต กับ ID Card หรือ Passport ไปที่เคาท์เตอร์ ก็จะได้ตั๋วมา หรือเอาบัตรเครดิตหรือเดบิตที่เราระบุว่าให้ตัดยอดจากบัตรดังกล่าวไปเสียบในเครื่องอัตโนมัติหน้าตาแบบนี้

เสียบหรือรูดพอการ์ดให้เครื่องมันรู้จักแล้วก็เก็บใส่กระเป๋า(ไม่ต้องเสียบค้างแบบตู้เอทีเอ็มธนาคาร)  จากนั้นกดเลขลำดับการจอง ตรวจดูข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่  แล้วก็สั่งพิมพ์ออกมา จะได้ตั๋วหน้าตาแบบนี้  สะดวกมากๆ

PC250098 PC250099

ด้านหน้าและด้านหลังของตั๋วรถไฟ

จากนั้นก็เข้าห้องน้ำห้องท่าให้เรียบร้อย  เช็คว่าขบวนรถไฟที่เราจะขึ้นจะต้อง ไปรอที่ชานชลาไหน หรือประตูไหน จากบอร์ดบอกเวลารถเข้ารถออก(ยังกะสนามบิน)  จากนั้นก็ขึ้นไปรอให้ถูกขบวน  เมื่อขึ้นบันไดเลื่อนไป ออกไปปุ๊บก็จะเป็นชานชลาลมโกรมหนาวเย็น แต่ยังดีที่มีแดด

PC250094 PC250095 PC250096 PC250092

เมื่อรถไฟมาถึงตามเวลา 9.00 AM คราวนี้มันจะยุ่งก็คราวนี้เพราะหนึ่งตั๋วรถไฟไม่ระบุเลขที่นั่ง นั่นคือเราจะขึ้นไปนั่งที่ไหนก็ได้ที่ว่าง แต่ต้องให้ถูกกับราคาตั๋วเราด้วย ซื้อตั๋ว coachcar จะไปนั่ง Business car ได้ยังไง  แต่ที่ยุ่งกว่าคือ แต่ละตู้จะมีจุดปลายทางไม่เหมือนกัน ถ้าเราไป DC ก็ควรจะไปอีกตู้หนึ่ง ถ้าไปลง Baltimore ก็ต้องไปนั่งอีกตู้หนึ่ง ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงก็ต้อง “ถาม” เจ้าหน้าที่ ถ้าเราไปนั่งผิดตู้ ก็จะต้องย้ายหรือรอให้เจ้าหน้าที่มาบอกว่าจะลงแล้วนะ ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากสำหรับผู้โดยสารกับเจ้าหน้าที่พอสมควร  ก็แล้วในเมื่อไฮเทคโนโลยีขนาดจองทางเนตได้ ก็รู้ว่าเราจะลงที่ไหนแล้ว   แล้วทำไม ไม่ระบุตำแหน่งที่นั่ง พร้อมทั้งเลขตู้ ไปเลยก็ไม่รู้

อนึ่งรถไฟสายนี้คือรถไฟสายที่ ปธ.โอบามา ใช้เดินทางไปวอชิงตันดีซี เพื่อตามรอย อดีต ปธ. อับบราอัม ลินคอล์น  และที่เมือง Wilmington และสถานีนี้เอง ที่โอบามาจะแวะเพื่อรับ รองประธานาธิบดี จอห์น ไบเดิน ผู้ที่เคยเป็นวุฒิสมาชิกรัฐเดลาแวร์นี่เอง

รถไฟจาก Wilmington จะผ่านเมือง Newark (แต่ไม่จอด) Aberdeen  Baltimore  และ Washington DC ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ครึ่ง แต่คราวนี้รถไฟกลับล่าช้าไปกว่า 10 นาที (ประเทศนี้ก็ยังช้าเป็น) เพราะไปจอดค้างที่สถานี Aberdeen อยู่นานมากไม่รู้ว่าทำไม  จะว่าจอดหลบอีกคันที่สวนมาก็ไม่ใช่เพราะเป็น รถไฟรางคู่

กว่าจะถึง Washington DC สถานี Union Station ก็ปาเข้าไปเกือบ 10.40 AM โทรศํพท์ให้เพื่อนมารับ  ภายในภายนอกสถานี Union Station แห่ง Washington DC โอ่โถงและงดงามด้วยสถาปัตยกรรมยุโรป งามมาก

PC250118 PC250115 PC250116 PC250117

รถแทกซี่ต่อคิวรับผู้โดยสาร

PC250119

อีกฝั่งกำลังปรับปรุงทางเท้า

มื่อมารับแล้วเราก็มุ่งหน้าสุ่โรงแรมที่พักเพื่อเช็คอินและพักผ่อนกันก่อน แต่ก็ไม่วายหลงทางกันอีกเพราะมีแต่แผนที่ไม่มี GPS มีแต่แผนที่ซึ่งบางทีเราก็นับ block อาคาร แต่ในความเป็นจริง block มันสั้นมากๆ จนตัดสินใจเลี้ยวผิด เข้าผิดเลนตรงทางแยกก็ต้องตรงไปอย่างเดียว แบบนี้เป็นต้น     และ วอชิงตัน ดีซี คือเมืองที่ไม่อภัยให้กับ “คนหลงทาง” เพราะเมื่อเลี้ยวผิดแล้วการพยายามกลับเข้าเส้นทางเดิมเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ทั้งบางทีก็เจอทางห้ามเข้าเพราะถนนมันปล่อยให้รถวิ่งทางเดียวบ้าง  กว่าจะวนกลับมาได้ก็แถบจะไปวนรอบเมืองใหม่ทีเดียว แถมมาใหม่ๆ ยังไม่รู้เหนือรู้ใต้ ดูแผนที่ไม่เข้าใจก็จบกันพอดี   แต่สุดท้ายด้วยความร่วมมือร่วมใจก็สามารถไปถึง Washington Courth Hotel ที่อยู่ห่างสถานทีรถไฟ Union station เพียงแค่ 500 เมตร ได้  แต่ก็ไปวนกันอยู่หลายกิโลเมตรทีเดียว

SANY0004 SANY0005 SANY0703 SANY0001 SANY0002 SANY0003 SANY0706

โถงต้อนรับและห้องพัก Washington court hotel  จากกล้องของชาวคณะที่อยู่อีกห้องครับ  แม้จะอยู่คนละห้องแต่จัดการวางก็ไม่ต่างกัน

หลังจาก check in เข้าพักและเก็บของเรียบร้อยแล้ว 5 หนุ่ม ก็ออกเดินทางไปหาอะไรกินโดยมุ่งหน้าไปไชน่าทาวน์  ซึ่งเป็นแหล่งเดียวที่คิดว่าร้านค้าไม่ปิดในวันคริสต์มาส (ขอบคุณความขยันขันแข็งของชาวจีน)  ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรงแรมที่พักเท่าไหร่ เมื่อหาที่จอดรถได้ ซึ่งจะต้องเป็นข้างทางที่มี เสาเขียวๆ ให้เราหยอดเหรียญจอด ชั่วโมงละ  1 USD รับแต่เหรียญ  25, 10, 5 cent เท่านั้น  เราจอดรถตรงหน้าพิพิธภัณฑ์

PC250133 PC250139 PC250137 PC250124PC250123PC250136

แล้วเดินไปสองสามบล๊อคเพื่อไปทานติ่มซำเป็นอาหารกลางวันที่  TonyChang หรือเปล่าไม่แน่ใจ

PC250130 IMG_0246 IMG_0247 IMG_0249

สามคนพวกเราชาวฟิสิกส์ มช. (รหัสนักศึกษาก็เอา พศ. ปัจจุบันลบ 10 นะครับ)

แล้วก็ไปชักภาพกับประตูเข้าไชน่าทาวน์

IMG_0256

ห้าคน ฟิสิกส์ ชีว ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ และวิศวะคอม

จากนั้นก็เป็นมหกรรมขับรถวนไปรอบ Capitol Hill อันเป็นสถานที่รวมอนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน พิพิธภัณฑ์มากมาย  รัฐสภา  ทำเนียบขาว   สถานที่ท่องเที่ยว  ที่น่าอิจฉาคือเขาทำพิพิธภัณธ์ที่ดีๆ เอาไว้กลางเมืองและไว้ใกล้ๆ กัน ที่สำคัญคือเข้าฟรี(จริงๆ ก็เก็บภาษีที่เราใช้จ่ายไปกับ ค่ารถ ค่าโรงแรม ค่าอาหารไป ก็เพื่อเอามาบำรุงสถานที่เหล่านี้นั้นแหละ)

Washington DC

Washington DC

นอกเรื่องล่ะ หลังจากนั้นก็กลับไปพัก รอเวลาเย็นๆ เพื่อเดินทางออกนอกเมืองไปยังสนามบิน Dulles เพื่อรับอีกสองคน ซึ่งเราก็หลงทางบนทางด่วนกันตามระเบียบ แต่สุดท้ายก็บรรลุภารกิจ พากันกลับเข้าเมืองได้อีกครั้งแล้วก็ฝากกระเพาะไว้กับ ไช่น่าทาว์นอีกครั้ง

PC250140

แล้วค่อยกลับมาโรงแรมประชุมแผนการท่องเที่ยวต่อไป……

โปรดติดตามตอนต่อไป กับ รัฐสภา และพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ…

Technorati Tags: ,
หมวดหมู่:Academic, Vocation